ประโยชน์ของกัญชา | Benefit Of Cannabis
Key point
กัญชาสามารถช่วยลดอาการเจ็บปวดเรื้อรัง
สารแคนนาบินอยด์ในกัญชาช่วยลดอาการซึมเศร้าได้
สามารถใช้สารในกัญชากระตุ้นการเจริญอาหารได้
กัญชายังช่วยให้ลดวิตกกังวลและนอนหลับได้ง่ายขึ้น
ถึงแม้จะมีการศึกษาที่พบว่าการใช้กัญชานั้นทำให้ มีรายได้ต่ำ, เรียนไม่จบ แต่การศึกษายังมีควบคุมปัจจัยได้ไม่เพียงพอ และเป็นการศึกษาการใช้ของวัยรุ่น ซึ่งถูกควบคุมในกฏหมายไทยแล้ว
หลังจากข่าวเด็ก 9-10 ขวบ จับกลุ่มสูบกัญชาข้างถนน สร้างแรงกระเพื่อมเข้าสู่อุตสาหกรรมกัญชา ซึ่งประชาชนเริ่มมีความกังวลถึงมาตรการป้องกัน การใช้ รวมถึงมีความสงสัยถึงประโยชน์ของกัญชาว่าจริงๆแล้วมันมาก หรือน้อยกว่าโทษกันแน่
แน่นอนปัจจุบันมาตรการควบคุมกัญชา นั้นยังหละหลวมตามนโยบายที่ต้องการผลักดันกัญชาให้ใช้เฉพาะเชิงการรักษาเท่านั้น (ตามที่คุณอนุทินย้ำเตือนอยู่เสมอ) แต่อย่างไรก็ตามวันนี้ผมอยากจะนำเสนองานวิจัยทางการแพทย์ ที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพ คุณโยชน์ชนิดที่ไม่สามารถหายาตัวไหนมารักษาได้ดีกว่า บทความนี้จะขอข้ามประโยชน์ในด้านอื่นๆ ทั้งเศรษฐกิจ และสังคม นะครับ อาจจะเขียนในบทความทัดไป

ผมขอยกประเด็นที่ทางร้านพบเจอ และเสริมด้วยงานวิจัย สำหรับสรรพคุณทางการแพทย์นะครับ
เจ็บปวดเรื้อรัง
ลูกค้าชาวอเมริกาเดินเข้ามาที่ร้านพร้อมถามหาดอกไม้พันธ์คลาสสิค White Widow เพื่อนำมาบรรเทาอาการเจ็บปวดเรื้อรังจากแผลผ่าตัดบริเวณหน้าอก ถึงช่วงคอ ลูกค้าบอกให้เราทราบพร้อมใบหน้าที่ดูทะมืนๆ และแล้วสีหน้าก็สดใสขึ้นมาทันที เมื่อพนักงานของร้าน Say Yes ซึ่ง นอกจากลูกค้ารายนี้แล้ว ยังมีอีกหลายรายที่เข้ามาขอให้แนะนำพันธ์กัญชาที่สามารถช่วยระงับอาการเจ็บปวดเรื้อรังได้ โดยใน USA ศึกษาพบว่า กัญชาถูกใช้ในการรักษาอาการเจ็บปวดเรื้อรังมากที่สุด (Ilgen et al. (2013))
แล้วกัญชานั้นสามารถรักษาการเจ็บปวดเรื้อรังได้จริงไหม หรือเป็นแค่ข้ออ้างให้ผู้เสพที่ต้องการความมึนเมา ได้ใช้กัญชาโดยที่คนอื่นว่าไม่ได้ ซึ่งในปี 2015 มีการศึกษา และสรุปผลจากผู้เข้าร่วมทดสอบ 6,462 คน พบว่า กัญชาสามารถลดอาการ เจ็บปวดได้ (Whiting et al. (2015))
อาการซึมเศร้า
ในเคสนี้ไม่มีลูกค้าท่านใดเข้ามาสอบถามโดยตรง แต่เราสังเกตได้ด้วยตัวเอง ลูกค้าหลายรายเข้ามาด้วยภาวะเงียบงัน พูดน้อย หน้าบึ้ง และไม่กระฉับกระเฉง แต่เพียงแค่ได้สูบกลิ่นหอมของดอกไม้ ก็ทำให้เค้านึกถึงช่วงเวลาที่จะได้ลิ้มลองดอกไม้แห้งกลิ่นมะนาว หรือส้ม ซึ่งทำให้อาการในค้างต้นหายไปภายในเสี้ยววินาที ซึ่งตรงกับการศึกษาในปี 2015อีกเช่นกัน ที่แสดงว่าสารแคนนาบินอยด์นั้นสามารถลดอาการของภาวะซึมเศร้าลงได้ (Whiting et al. (2015)) ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อของคนทั่วไปที่มักจะอธิบายถึงอาการของกาาใช้กัญชา ทั้ง เฮฮา หัวเราะ
อาการเบื่ออาหาร และน้ำหนักลดลง
เป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวางว่ากัญชานั้นกระตุ้นความหิวโหย หวนหาของหวานอย่างสุดต้านทาน แต่คงมีไม่กี่คนหรอกที่จะมองหาวิธีเพิ่มน้ำหนักตัวเองให้มีสุขภาพแข็งแรง การทานอาหารเพิ่มเติมดูไม่ใช้เรื่องยากสำหรับผู้คนทั่วไป แต่สำหรับผู้ป่วยบางรายนั้น ความเจ็บปวดทำให้พวกเค้าสูญเสียการเจริญอาหารไปมาก ซึ่งมีการศึกษาพบว่ากัญชาสามารถช่วยให้ผู้ป่วยโรค HIV/AID, และมะเร็ง มีอาการเจริญอาหาร สามารถทานอาหารได้มากขึ้น รวบถึงเพิ่มน้ำหนัก หรือป้องกันการน้ำหนักลดลงได้ (Foltin et al., 1988)
นอกจากสามคุณประโยชน์เบื้องต้นแล้ว กัญชายังช่วยให้คุณนอนหลับได้ง่ายขึ้นและลดความวิตกกังวลได้ดีด้วย (John S.Luque (2021))
แน่นอนมีหลายงานวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงโทษของกัญชา ทั้งระดับรายได้ที่ต่ำกว่า อัตราการเรียนจบและเข้ามหาลัย การใช้สารเสพติดอื่น สำหรับผมนั้นเป็นการศึกษาผู้ที่เริ่มใช้ตั้งแต่เด็ก ซึ่งถูกจำกัด และควบคุมแล้วในไทย เพราะฉะนั้น เพื่อส่งเสริม และสะท้อนสิ่งที่ดีของกัญชา ผมขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการทุกท่านช่วยกันระมัดระวังเรื่องนี้ด้วย